วันนี้เป็นคาบแรกของวิชา Applied Japanese Linguistic ที่ได้รับเสียงลือเสียงเล่าอ้างมาจากรุ่นพี่เยอะมากว่า มีงานเยอะนะ แต่ก็เป็นเพราะว่าอยากเรียนกับอาจารย์กนกวรรณก็ตัดสินใจลงวิชานี้อยู่ดี (*´꒳`*) ♡
จริงๆ แล้วเป็นคนที่ไม่ถนัดวิชาทางภาษาศาสตร์เลย แต่ว่าพอขึ้นชื่อว่าเป็น “ประยุกต์” ก็เลยคิดว่ามันคงไม่ได้หนักหนาเท่ากับตัวพื้นฐานมากขนาดนั้นหรอกน่า ! (ก็คงต้องรอดูกัน ฮา)
ซึ่งส่วนตัว จากที่ดูข้อมูลในประมวลรายวิชา ก็คิดว่าน่าสนใจทีเดียว และในปีนี้ก็มีการเพิ่มส่วนของ 言語現象・言語観察 เข้ามาด้วย
ในช่อง タスク ที่ว่าง ๆ คือยังไม่ลงตัว แต่อาจารย์ก็ให้เสนอได้ถ้ามีอะไรที่อยากลองทำ
หลังจากการ オリエンテーション และพูดคุยกันเรื่องต่างๆเล็กๆน้อยๆ ก็เป็นการเข้าสู่ タスク แรก นั่นก็คือ!
「魅力的な自己紹介」ในใจนี่ก็คิดแล้วว่า ‘เอาล่ะ’
เรามั่นใจมากว่าทุกคนที่เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นหรือเริ่มเรียนภาษาอะไรก็ตามมักเริ่มจาก “การแนะนำตัว” ซึ่งตอนที่เราเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่นก็เป็นเช่นนั้น
การแนะนำตัวนั้นแสนง่ายดาย ... จริงหรอ
เอาจริงๆ เราว่าการแนะนำตัวเป็นสิ่งที่ยากนะ เพราะเราไม่รู้ว่าเราควรใส่ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเรานอกจากชื่อไหม รวมถึงเราไม่รู้ด้วยว่าควรจะแนะนำตัวยังไงให้คนจดจำเราได้ไม่ลืม (ในทางที่ดีด้วย)
แต่อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้อาจารย์ก็มีกำหนดไว้ให้แล้วว่าการแนะนำตัวครั้งนี้ต้องใส่อะไรเข้าไปบ้าง โดยมีดังนี้ เริ่มจาก 挨拶、名前、専門領域、ストレス解消 ตามลำดับ
โดยคนแรกที่แนะนำตัวก็คื้อ
.
.
.
.
เราเองค่า
(เลิ่กลั่ก)
แน่นอนว่า ในคลาสเหงา ๆ ที่มีกัน5คนรวมอาจารย์ มีรุ่นพี่ที่เคยไปแลกเปลี่ยนมาแล้ว กับเพื่อนร่วมรุ่นอีกคนที่ได้พัฒนากลายเป็นเทพอีกหนึ่งองค์ของเอกญี่ปุ่นไปแล้ว ก็รู้สึกเจื่อน ๆ เล็กน้อย
แต่ก็เป็นไงก็เป็นกัน ٩( ᐛ )و
โดยสิ่งที่เราพูดออกไปถอดข้อความได้ดังนี้
・・・・・・・・
はい、はじめまして。私はケーミガーと申します。はい、私はえー外国人の感じの勉強し方に興味があります。はい、そして、私はえーストレトがたまらないように、よくあーなんかK-POPの音楽を聞きます。はい、以上です。よろしくお願いします。
・・・・・・・・
ก็จะเห็นได้ว่า
はい
はい
はい
และ はい !
ตอนที่พูดก็พอจะรู้ตัวอยู่ว่าตัวเองพูด はい ออกไปแต่ก็ไม่คิดเหมือนกันว่าจะมากถึงสี่ครั้งเลย นอกจากนี้ก็มีพูดผิดด้วย (ストレト) ก็รู้เลยว่าเป็นคนลนๆอยู่ระดับหนึ่ง พอถอดเสียงออกมาก็ทำให้ได้รู้สิ่งที่ทำจนติดเป็นนิสัยของตัวเองหลายๆอย่าง เช่น การจบการแนะนำตัวด้วยการพูดว่า 以上です อันนี้เป็นเพราะว่าตอนพูดเราเองก็ไม่แน่ใจว่าควรจบอย่างไร พอพูดหัวข้อสุดท้ายจบแล้วพูด よろしくお願いします เลยจะดูห้วนไปไหมนะ แต่พอมานั่งคิดดูแล้วพอจบด้วย 以上です ก่อนนั้นกลายเป็นว่าให้ความรู้สึกห้วนกว่าเสียอีก (แหะๆ) แต่อันที่จริงก็ได้ลองถามอาจารย์ดูก็บอกว่าจะจบอย่างนั้นก็ได้แต่เนื้อหานั้นก็ควรจะมีเยอะกว่านี้ถึงจะเหมาะสมกว่า
ถัดไปก็จะเห็นว่ามีการพูด 私は อยู่หลายครั้ง ซึ่งโดยปกติแล้ว เท่าที่เรียนมาก็จะเห็นได้ว่าในภาษาญี่ปุ่นนั้นจะไม่ค่อยใช้ 私は ซ้ำหลายครั้ง หรือบางทีก็อาจจะไม่ใช้เลย ดังนั้นคิดว่าหลังจากนี้จะฝึกตรงส่วนนี้ให้มากขึ้นอีก
ถัดไปก็จะเห็นว่า เราพยายามที่จะไม่พูดหัวข้อ 専門領域、ストレス解消 แบบตรงๆ แล้วพยายามสร้างวประโยคให้ดูเชื่อมกันอยู่ แต่ก็รู้สึกแปลกๆอยู่เหมือนกันค่ะ
พอจบในส่วนของเราก็เป็นตาคนอื่นแนะนำตัวบ้าง
ซึ่งเราก็ฟังแล้วรู้สึกว่า "เออ จริงด้วย ทำแบบนี้ก็ดีนี่" อย่างเช่น ในส่วนของพี่มายด์ที่แนะนำตัวเป็นชื่อยาวๆ และเสริมเพิ่มเติมว่า เพราะชื่อยาวเพราะฉะนั้นจะเรียกสั้นๆว่ามายด์ก็ได้ ประมาณนี้ ก็คิดว่าน่าสนใจมากๆ เพราะยังไงส่วนใหญ่เราก็ต้องแนะนำตัวเป็นภาษาญี่ปุ่นให้คนญี่ปุ่นฟังซึ่งเขาอาจจะไม่มีความคุ้นเคยกับชื่อภาษาไทยที่ชื่อส่วนใหญ่จะเป็นชื่อยาวๆ การแนะนำชื่อเล่นก็เป็นส่วนที่เรียกได้ว่าเป็น empathy ที่มีต่อผู้ฟังจริง ๆ (แต่ถ้าชื่อเล่นยาวกว่าชื่อจริงๆก็อาจจะเป็นอีกเรื่อง...)
ถัดมาอาจารย์ก็ลองให้ได้ดูวิดีโอการแนะนำตัวของคนญี่ปุ่นจริงๆ
ก็อะ อ้าว เมื่อกี้จะพยายามทำประโยคให้ดูเชื่อมๆกันทำไมนะ เขาก็พูดกันนี่ว่า 専門領域は...、ストレス解消は... รวมถึงก็มีคนที่พูดแนะนำได้น่าสนใจ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะพูดว่าวิธีคลายเครียดคือการดูการแข่งขันอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่ว่าทีมที่เชียร์แพ้ก็กลายเป็นว่าเครียดกว่าเดิม ประมาณนี้ด้วย (ฮา)
นอกจากนี้ก็มีการเชื่อมหัวข้อ 専門領域 และ ストレス解消 โดยบอกว่าเพราะเครียดจากงานวิจัยที่ทำอยู่ก็เลยคลายเครียดโดย ... ซึ่งตรงส่วนนี้เราคิดว่าเป็นการเชื่อมเนื้อหาที่ดูเป็นธรรมชาติมาก ต่างจากตัวเองที่พูดไปเรียงๆตามหัวข้อที่ได้มา และยังมีในส่วนของคนพูดคนสุดท้ายที่น่าสนใจ คือการพูดถึงสิ่งที่คนก่อนหน้าพูดมาก่อนด้วย ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าตั้งใจฟังสิ่งที่คนอื่นพูด ซึ่งน่าประทับใจมาก
พอได้ดูวิดีโอที่ก็ได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง เช่นรูปประโยคที่คนญี่ปุ่นใช้ และในส่วนของข้อมูลที่เราพูดออกไปนั้นเราก็ควรมีการเพิ่ม エピソード เข้าไปในการแนะนำตัวของเราบ้าง เพราะบางสิ่งที่เรารู้นั้นผู้ฟังอาจจะไม่ได้รับรู้และเข้าใจเหมือนกับเรา ดังนั้นจึงควรใส่ข้อมูลเพิ่มเติ่มเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจมากขึ้น เช่นว่า วิจัยเรื่อง...สนใจเรื่องนี้เพราะ ... เป็นต้น
หลังจากจบส่วนของการดูวิดีโอนั้นก็เป็นการแก้ไขการแนะนำตัวของเรา โดยข้อความต่อไปนี้ก็ได้ผ่านการแก้ไขรวมถึงได้ลองถามอาจารย์อีกครั้งเรียบร้อยแล้ว
・・・・・・・・
はじめまして。ケーミガーです。今、非漢字圏の日本語学習者の漢字の学習方法に興味があります。非漢字圏の日本語学習者にとって漢字は難しいので、どのような学習方法に効果があるか研究しています。研究しすぎてストレスがたまってしまう時に、よくK-POPの音楽を聞いています。どうぞよろしくお願いします。
・・・・・・・・
ก็ดูมีความฉลาดเพิ่มขึ้น และดูดีมากขึ้นถ้าเทียบกับอันก่อนหน้านี้ (ฮา) แต่ก็เป็นเพราะมีเวลาคิดมากกว่าก็เลยออกมาเป็นเช่นนี้ นอกจากนี้ก็ยังได้คำแนะนำจากอาจารย์ด้วย
ในท้ายของบทนี้
ก็เป็นคลาสแรก ครั้งแรกของรายวิชานี้ ก็ได้เรียนรู้อะไรมากมาย รวมถึงได้ตระหนักอะไรหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับการใช้ภาษาญี่ปุ่นของตัวเองด้วยว่าบางทีเรายังติดการเอาตัวเองเป็นหลัก มากกว่าให้ผู้ฟังเป็นหลัก ในภายภาคหน้า เราก็จะให้ความสำคัญกับผู้ฟังมากขึ้น มี empathy ต่อผู้ฟังมากขึ้น
นอกจากนี้เราก็รู้ตัวว่าเรายังมีจุดที่ด้อยเยอะในการใช้ภาษาญี่ปุ่น ก็จะพยายามมากขึ้นอีกเรื่อย ๆ จะเตรียมตัวให้ดีมากขึ้น ก็ขอให้กำลังใจตัวเองว่ามาพยายามกันให้มากขึ้นอีก ! 頑張りましょう!
และในครั้งนี้ก็ขอลาไปก่อน แล้วเจอกันใหม่ในบล็อกหน้า
สวัสดีค่า (=^・ω・^=)
♥
เขียนได้ละเอียดมากเลยค่ะ จับจุดที่เรียนได้และเขียนออกมาได้สนุก แล้วก็เห็นพัฒนาการอย่างชัดเจนด้วย ขอบคุณที่เป็นแฟนอยากเรียนกับครูนะคะ คำว่า empathy บางทีเห็นในภาษาญี่ปุ่นใช้ว่า エンパシー หรือบางทีเขาก็ใช้ 共感力 ค่ะ
ตอบลบแงววว แงวน้อยเต็มไปหมด😍😍
ตอบลบไม่เกี่ยววววเลยยยย ที่เกี่ยวคือเขียนละเอียดมากเลยอะ จับจุดดีจุดด้อยตัวเองได้ ส่วนเรื่องฟิลเลอร์ก็รู้ ๆ กัน มนุษย์ なんか กับมนุษย์ まあ5555555
ตอนพี่ไปแลกเปลี่ยน ไม่ว่าพี่จะเรียนคาบไหน พี่จะโดนอาจารย์พูดดักคอว่า "ช่วยบอกชื่อที่อยากให้เรียกด้วยนะ เพราะอ่านชื่อคนไทยไม่ไหว" แล้วนามสกุลพี่ยาวมาก อาจารย์ทุกคนยอมแพ้กับการอ่านนามสกุลพี่ 555 เพราะงั้นเวลาพี่แนะนำตัว พี่เลยติดนิสัยบอกชื่อเล่นเสมอน่ะ
ตอบลบถ้ามีโอกาสได้แนะนำตัวกับคนญี่ปุ่น แนะนำให้พูดชื่อเล่นนะ แล้วคนญี่ปุ่นจะเป็นปลื้มมากที่มีชื่อสั้นๆให้เรียก---