ก็ ๆ มาต่อจากบทที่แล้วนะคะ
อย่างที่บอกไปว่าจะพูดถึงในส่วนของ JP WRIT ด้วยค่ะ
เพราะที่ผ่านมาก็ต้องเขียน 自己PR เช่นกันค่ะ
ซึ่งสิ่งที่ได้ทำใน JP WRIT เราว่าก็มีประโยชน์มากค่ะสำหรับใครที่ไม่รู้ว่าเรามีดีอะไร หาข้อดีของตัวเองไม่เจอเลย
สิ่งนั้นก็คือ
การให้เพื่อนเขียนข้อดีให้ ค่ะ
มันมีประโยชน์ตรงที่ ทำให้เราได้รู้จักตัวเองมากขึ้นจากมุมมองของคนอื่น ได้รู้ข้อดีของตัวเองแบบที่เป็น 客観的 ค่ะ
โดยวิธีก็คือ เซนเซจะให้เราเขียนข้อดีของเพื่อนใส่กระดาษแล้วก็ส่งให้คนนั้นโดยที่เราไม่ต้องเขียนชื่อเราก็ได้ เซนเซบอกว่าพยายามเขียนให้เพื่อนหลาย ๆ คน ไม่อยากให้มีใครไม่ได้น้า ไม่งั้นเพื่อนจะเศร้าน้า
เราก็ได้พบข้อดีของเรา ! (จากมุมมองของเพื่อนๆ)
ซึ่งส่วนใหญ่ส่งมาบอกว่าเราเป็นคน "ใจเย็น" ค่ะ
ตอนที่อ่านที่เพื่อนเขียนมาให้ก็ โอ้ มันเป็นข้อดีหรือนี่ 555555555 แต่ถ้าเพื่อนว่างั้น จะถือเป็นคำชมและขอบคุณมากค่า แหะๆ
หลังจากที่อ่านข้อดีของเราที่เพื่อนเขียนมาให้ (ซึ่งบางคนก็อาจจะมีหลายข้อ) เซนเซก็ให้บอกข้อดีของตัวเรา(อาจจะเป็นข้อดีที่เราคิดเองหรือได้จากเพื่อน) แล้วก็รวบรวมของทุกคนให้ดูค่ะ ระหว่างดูไปเซนก็มีแนะนำให้ด้วยว่าข้อดีอย่างนี้ควรเขียนเนื้อหาอย่างไร ซึ่งของเราเซนเซก็แนะนำว่า ถ้าใส่エピソードที่เราสามารถใจเย็นในสถานการณ์ที่คนอื่นร้อนรนก็จะทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น
แต่ แต่ แต่อย่างไรก็ตามนะคะ วิธีนี้ยังมีข้อเสียอยู่นะคะถ้าหากเพื่อนไม่เขียนเหตุผลหรือ エピソード มาให้
เพราะเราก็จะไม่รู้อยู่ดีค่ะว่าจะเขียนยังไงดี
ยกตัวอย่างในกรณีของเรา พอคิดถึงเรื่องใจเย็นแล้ว ก็รู้สึกว่าหลายครั้งตัวเองก็ใจเย็นในเรื่องที่ไม่ควรบ่อยเกินไป เลยแบบ เอ ยังไงดีนะ คิดหลายครั้งก็คิดไม่ออกสักเท่าไร แง้
แล้วเนื่องจากช่วงที่ต้องเขียนส่งในวิชา JP WRIT เราก็หัวปั่น ปั่นงานทุกวัน
ก็เดาได้ไหมเอ่ยกว่าเกิดอะไรขึ้น
.
.
.
.
ก็คือแอบเอาอันที่ส่งอาจารย์กนกวรรณไปส่งแทนค่ะ ㅠㅅㅠ
แต่ก็ไม่ได้ส่งไปทั้งดุ้นขนาดนั้น มีแก้ๆ ปรับๆ ด้วย แต่หลักๆก็คือเอาเนื้อหาเดิมมาวน แง้
แต่ทีงี้ หลังจากที่ส่งไปแล้วก็ได้ฟีดแบ็กกลับมา
ซึ่งเป็นฟีดแบ็กที่น่าสนใจสำหรับเราค่ะ
เพื่อที่จะไม่ต้องย้อนกลับไปดูบล็อกก่อนหน้า เราจะเอามาแปะนะคะ (อันนี้ไม่ใช่อันที่เราส่งไปนะคะ แต่ส่วนที่ได้รับคอมเม้นเป็นส่วนที่เราคงไว้อย่างนั้นเลยขออนุญาตเอาอันนี้มาให้ดูเลยนะคะ)
私ができないことは「諦めること」です。小学から高校までずっと私立校に通っていました。高校を卒業する前に、有名なC大学に入りたいという考えが出てきました。「誰でもC大学に入りたがるじゃない?きっと頭がいい人が多いはずだ」とよく言われましたが、試してみるまで、分からないと思いましたから、頑張ってみることにしました。毎日復習したり、週末にも塾に通ったりすることは大変ですが、頑張ることを続けました。その結果、C大学に入ることができました。その時から、私はずっと「努力は裏切らないものだ」と信じています。今回も、このことを社会人になっても活かしていけると確信しています。
เลยรู้สึกว่าต่อไปนี้เวลาจะเขียนก็ต้องระวังมากขึ้น!
ครั้งหน้าถ้าหากจะเขียนข้อดีของตัวเองคือ 努力家 ก็คงต้องเขียน エピソード อื่น ที่ดูสเปเชียลมากกว่านี้อีก จริงๆเซนเซถามด้วย ว่ามีเรื่องที่พยายามมากกว่านี้ในช่วงมหาลัยไหม แง้ จริงๆก็มีแต่มันยังไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้เลยรู้สึกว่ายังพยายามไม่พอที่จะเขียนลงไปน่ะค่ะ
ก็ขอจบบล็อกครั้งนี้ไว้แต่เพียงเท่านี้
หากความคิดเห็นอะไรก็มาแลกเปลี่ยนกันได้เสมอค่ะ
อย่างที่บอกไปว่าจะพูดถึงในส่วนของ JP WRIT ด้วยค่ะ
เพราะที่ผ่านมาก็ต้องเขียน 自己PR เช่นกันค่ะ
ซึ่งสิ่งที่ได้ทำใน JP WRIT เราว่าก็มีประโยชน์มากค่ะสำหรับใครที่ไม่รู้ว่าเรามีดีอะไร หาข้อดีของตัวเองไม่เจอเลย
สิ่งนั้นก็คือ
การให้เพื่อนเขียนข้อดีให้ ค่ะ
มันมีประโยชน์ตรงที่ ทำให้เราได้รู้จักตัวเองมากขึ้นจากมุมมองของคนอื่น ได้รู้ข้อดีของตัวเองแบบที่เป็น 客観的 ค่ะ
โดยวิธีก็คือ เซนเซจะให้เราเขียนข้อดีของเพื่อนใส่กระดาษแล้วก็ส่งให้คนนั้นโดยที่เราไม่ต้องเขียนชื่อเราก็ได้ เซนเซบอกว่าพยายามเขียนให้เพื่อนหลาย ๆ คน ไม่อยากให้มีใครไม่ได้น้า ไม่งั้นเพื่อนจะเศร้าน้า
เราก็ได้พบข้อดีของเรา ! (จากมุมมองของเพื่อนๆ)
ซึ่งส่วนใหญ่ส่งมาบอกว่าเราเป็นคน "ใจเย็น" ค่ะ
ตอนที่อ่านที่เพื่อนเขียนมาให้ก็ โอ้ มันเป็นข้อดีหรือนี่ 555555555 แต่ถ้าเพื่อนว่างั้น จะถือเป็นคำชมและขอบคุณมากค่า แหะๆ
หลังจากที่อ่านข้อดีของเราที่เพื่อนเขียนมาให้ (ซึ่งบางคนก็อาจจะมีหลายข้อ) เซนเซก็ให้บอกข้อดีของตัวเรา(อาจจะเป็นข้อดีที่เราคิดเองหรือได้จากเพื่อน) แล้วก็รวบรวมของทุกคนให้ดูค่ะ ระหว่างดูไปเซนก็มีแนะนำให้ด้วยว่าข้อดีอย่างนี้ควรเขียนเนื้อหาอย่างไร ซึ่งของเราเซนเซก็แนะนำว่า ถ้าใส่エピソードที่เราสามารถใจเย็นในสถานการณ์ที่คนอื่นร้อนรนก็จะทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น
แต่ แต่ แต่อย่างไรก็ตามนะคะ วิธีนี้ยังมีข้อเสียอยู่นะคะถ้าหากเพื่อนไม่เขียนเหตุผลหรือ エピソード มาให้
เพราะเราก็จะไม่รู้อยู่ดีค่ะว่าจะเขียนยังไงดี
ยกตัวอย่างในกรณีของเรา พอคิดถึงเรื่องใจเย็นแล้ว ก็รู้สึกว่าหลายครั้งตัวเองก็ใจเย็นในเรื่องที่ไม่ควรบ่อยเกินไป เลยแบบ เอ ยังไงดีนะ คิดหลายครั้งก็คิดไม่ออกสักเท่าไร แง้
แล้วเนื่องจากช่วงที่ต้องเขียนส่งในวิชา JP WRIT เราก็หัวปั่น ปั่นงานทุกวัน
ก็เดาได้ไหมเอ่ยกว่าเกิดอะไรขึ้น
.
.
.
.
ก็คือแอบเอาอันที่ส่งอาจารย์กนกวรรณไปส่งแทนค่ะ ㅠㅅㅠ
แต่ก็ไม่ได้ส่งไปทั้งดุ้นขนาดนั้น มีแก้ๆ ปรับๆ ด้วย แต่หลักๆก็คือเอาเนื้อหาเดิมมาวน แง้
(ภาพฉันที่นั่งปั่นงานทุกวิชาในเวลาเดียวกัน)
แต่ทีงี้ หลังจากที่ส่งไปแล้วก็ได้ฟีดแบ็กกลับมา
ซึ่งเป็นฟีดแบ็กที่น่าสนใจสำหรับเราค่ะ
เพื่อที่จะไม่ต้องย้อนกลับไปดูบล็อกก่อนหน้า เราจะเอามาแปะนะคะ (อันนี้ไม่ใช่อันที่เราส่งไปนะคะ แต่ส่วนที่ได้รับคอมเม้นเป็นส่วนที่เราคงไว้อย่างนั้นเลยขออนุญาตเอาอันนี้มาให้ดูเลยนะคะ)
私ができないことは「諦めること」です。小学から高校までずっと私立校に通っていました。高校を卒業する前に、有名なC大学に入りたいという考えが出てきました。「誰でもC大学に入りたがるじゃない?きっと頭がいい人が多いはずだ」とよく言われましたが、試してみるまで、分からないと思いましたから、頑張ってみることにしました。毎日復習したり、週末にも塾に通ったりすることは大変ですが、頑張ることを続けました。その結果、C大学に入ることができました。その時から、私はずっと「努力は裏切らないものだ」と信じています。今回も、このことを社会人になっても活かしていけると確信しています。
- - - - - - - - - - - - - - - -
ต้องส่วนที่ได้รับคอมเม้นจากเซนเซก็คือตรงส่วนที่ทำตัวหนาสีแดงไว้นะคะ
อันนี้ไม่ใช่ว่าผิดไวยากรณ์ หรือเรื่องการเลือกคำแต่อย่างใด
แต่เป็นส่วนของ "เนื้อหา" ค่ะ
เซนเซบอกว่า "การอยากเข้ามหาวิทยาลัยได้เลยเรียนทบทวนบทเรียนทุกวัน ไปเรียนพิเศษ ฯ" มันไม่ใช่เรื่องธรรมดาทั่วไปหรอ
ตอนได้รับคอมเม้นแบบนี้มาก็ เอ้อ จริงด้วย
เหมือนทำให้เราตระหนักน่ะค่ะ ว่าทุกคนที่จะเข้ามหาลัยก็พยายามเหมือนกันนี่นา ถ้าเขียนแบบนี้ไปมันดูเหมือนว่าคนอื่นไม่ได้ใช้ความพยายามในการเตรียมตัวสอบเข้ามหาลัย
หลังจากนั้นเราก็ต้องแก้งาน เราก็ไปหาดูในเน็ตว่าควรเขียนยังไง
ก็เจอที่คนเขียนไว้เหมือนกันว่า "ว่าอย่าเขียนเรื่องทั่วไปหรือเรื่องที่common senseให้มันเป็นเรื่องแปลก--เรื่องที่คนไม่ค่อยทำกัน"
เลยรู้สึกว่าต่อไปนี้เวลาจะเขียนก็ต้องระวังมากขึ้น!
ครั้งหน้าถ้าหากจะเขียนข้อดีของตัวเองคือ 努力家 ก็คงต้องเขียน エピソード อื่น ที่ดูสเปเชียลมากกว่านี้อีก จริงๆเซนเซถามด้วย ว่ามีเรื่องที่พยายามมากกว่านี้ในช่วงมหาลัยไหม แง้ จริงๆก็มีแต่มันยังไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้เลยรู้สึกว่ายังพยายามไม่พอที่จะเขียนลงไปน่ะค่ะ
แล้วสุดท้ายนี้ก็เลยต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเลยค่า (แง้) ก็โชคดีที่งานอื่นเสร็จแล้ว
โดยครั้งใหม่ที่เขียนไปครั้งนี้ก็ได้เลือกเขียนพรีเซนต์ "ความใจเย็น" ของตัวเองค่ะ
แม้จะไม่รู้ว่าจะเขียนยังไงดีขนาดไหน แต่การได้ทบทวนคำแนะนำของเซนเซ บวกกับการค้นหาในอินเทอร์เน็ตก็ทำให้เราเห็นหนทางมากขึ้นอยู่ค่ะ
ตอนที่เราเขียน เราชอบดูเว็บ matcher.jp เวลาที่เราค้นหาว่า (ข้อดี เช่น 努力家) 自己PR มักจะเป็นเว็บไซต์ที่ขึ้นมาแรก และเหตุผลที่เรากดเข้าไปก็เป็นเพราะว่า
มี【ES例文あり】นี่เอง !(笑)
แต่การที่มีตัวอย่างไม่ใช่ว่าเราไปก็อปมาหมดเด้อ เรียกว่าเป็นหลักยึดเวลาหลงทางละกัน แหะๆ
ก็ในเว็บนี้ ส่วนใหญ่เขาจะแนะนำการเขียนไว้ค่อนข้างดีนะคะ อย่างเช่น ถ้าเรามีข้อดีคือ ความใจเย็น เราควรพรีเซนต์ตัวเองด้วยจุดใด อย่างไร
นอกจากนี้เว็บอื่น ๆ หลาย ๆ เว็บก็ดีนะคะ เพราะนอกจากแนะนำวิธีเขียนแล้ว ก็มีช่วยเตือน ให้ข้อควรระวังเหมือนกันค่ะ อย่างเช่น สมมติว่าถ้าเราจะเขียนนำเสนอข้อดี 落ち着きがある・冷静 ก็ระวังว่าจะเขียนแล้วกลายเป็นคนที่ดูนิ่งเฉย หรือเย็นชา insensitive ไปแทน
ก็คิดว่าน่าสนใจมาก ๆ ที่สิ่งที่เรามองเป็นข้อดี ถ้านำเสนออย่างไม่ระวังก็อาจกลายเป็นข้อเสียได้เหมือนกัน !
ใครที่จะฝึกเขียน 自己PR สำหรับการ PRตัวเองเราคิดว่าการเสิร์จดูพวกนี้ในอินเทอร์เน็ตก็ช่วยให้ข้อมูล และแนวทางเราได้ดีนะคะ
ถือว่าเพื่อเป็นการเก็บเกี่ยวความรู้เพื่อที่ในอนาคตเราก็จะสามารถเขียน PR ตัวเองได้อย่างเริ่ด ๆ นะคะ ต้องมีงานทำ !
ฮึ่ม
ก็มาถึงช่วงสรุปนะคะ
สิ่งที่เราได้เรียนรู้จาก งานในวิชา APP JP LIN และ JP WRIT
ก็มีทั้งทริคการเขียนพีอาร์ตัวเอง และวิธีการหาข้อดีของตัวเองโดยให้เพื่อนช่วย
ซึ่งต่างก็ให้ประโยชน์แก่เราทั้งสองเรื่องเลย
สิ่งที่ได้ทบทวนจากการทำ タスク และงานที่ส่งในวิชา JP WRIT
① อย่างแรกก็อาจจะต้องปรับมุมมองความคิดของตัวเองบ้าง อย่างตอนที่เขียนเรื่องความพยายามในการสอบเข้ามหาลัย ก็เป็นเรื่องดีที่เราประทับใจเนอะเลยเลือกที่จะเขียนไป แต่ก็คิดไปว่าคนที่จะสอบเข้ามหาลัยส่วนใหญ่ก็ต้องใช้ความพยายามไม่ต่างจากเรา จะต้องฝึกคิดเยอะ มองในมุมอื่นมากกว่านี้ !
② อันนี้ตอนที่ทำ タスク อาจจะยังไม่ได้รับรู้เท่าไร แต่พอได้ทำงานส่งใน JP WRIT ที่อาจารย์ให้เพื่อนๆช่วยบอกข้อดีของเราให้ ก็ยิ่งทำให้เรารู้ข้อดีของตัวเองมากขึ้น ได้ตระหนักถึงความสำคัญของมุมมองจากภายนอก ไม่อย่างนั้นเราก็คงคิดว่าตัวเองมีแค่ข้อดีเดียวอีกต่อไปแน่ ๆ เลยค่ะ 555555 ขอบคุณเพื่อน ๆ ในเซคมาก แง้
③ และสุดท้ายนี้ ก็อาจจะเป็นการคิดทบทวนเรื่องการเขียน 自己PR ไม่ว่าจะสำหรับใช้ในจุดประสงค์ใดก็ตาม ก็ไม่ควรยึดติดวิธีที่ดูไม่เป็นตัวเองขนาดนั้น เพราะเราเชื่อว่าผู้ที่รับสาส์นก็คงมี taste , preference ของเขาเหมือนกัน ก็อาจจะต้องศึกษาวิธีเขียน ลองเขียนไปเรื่อยๆจนกว่าจะหาแนวทางที่นำเสนอตัวเองออกมาได้ดีที่สุด แล้วถึงตอนนั้นก็ค่อยตามหาคนที่จะรู้สึก match กับความเป็นเราได้
ก็ขอจบบล็อกครั้งนี้ไว้แต่เพียงเท่านี้
หากความคิดเห็นอะไรก็มาแลกเปลี่ยนกันได้เสมอค่ะ
เอาความรู้สองวิชามาผลึกกำลังกัน!
ตอบลบ