インターアクション仮説 คุยกับเจ้าของภาษากันเถอะ!


สวัสดีค่ะ

ก็กลับมาเจอกันอีกแล้ว แหะๆ

(นั่งพิมพ์ตอนดึก ๆ หิวมากเลย)


ในครั้งนี้เราก็จะพูดถึงแนวการสอนอีกอันหนึ่งที่เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับ インプット仮説 ที่ได้พูดไปในครั้งที่แล้วนะคะ

ซึ่งก็คื๊ออออ

「インターアクション仮説 」
หรือ Interact Hypothesis นั่นเอง!!

เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์ค่ะ ทฤษฎีนี้นำเสนอโดย Michael H. Long
Long เสนอว่าการจะรับ input ได้อย่างมีประสิทธิภาพเนี่ยจำเป็นต้องผ่านกระบวนการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนภาษาที่สอง และเจ้าของภาษาด้วย เขากล่าวว่าการมีการสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์แบบ face-to-face เป็นสิ่งที่จำเป็น



ทั้งนี้ ในระหว่างการสนทนา คู่สื่อสารจะใช้กลยุทธ์การสื่อสารหรือ Communication Strategies


ได้แก่

1. self-repair (่自己修正) - แก้ไขหรือปรับการใช้ภาษาของตนให้ผู้ฟังเข้าใจมากขึ้น
2. confirmation check (確認チェック) ถามกลับเพื่อความแน่ใจ
3. request for clarification (明確化要求) ขอให้อธิบายเพิ่มเติมเมื่อฟังไม่เข้าใจ
4. paraphrase (言い換え) อธิบายข้อมูลของตนให้ผู้ฟังเข้าใจมากขึ้น

เป็นต้นค่ะ

------------

ซึ่งเราค่อนข้างชอบแนวทางนี้มากค่ะ
เราเองก็เคยผ่านการคุยกับคนที่่ใช้ภาษาอังกฤษและคนที่ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่
เรารู้สึกว่า กลยุทธ์การสื่อสารดังกล่าวมันเกิดขึ้นอัตโนมัติอยู่ค่ะ

อย่างเช่น

เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้วเราไปแลกเปลี่ยนระยะเวลาสองสัปดาห์ที่ญี่ปุ่น
ซึ่งตอนนั้นเราต้องทำ 発表 ร่วมกับเพื่อนชาวญี่ปุ่น กับเพื่อนชาวชาติอาเซียนคนอื่น

ซึ่งตอนนั้นเราก็ทำหัวข้อเกี่ยวกับเ
รื่องอาหาร
ตอนนั้นเราติดอยู่ที่คำว่า "ใส" ตอนนั้นอยากจะอธิบายว่าแต่ก่อนแกงไทยเนี่ยไม่ได้ใส่กระทิมันเลยจะมีสีใส ๆ (ไม่เหมือนกับแกงใส่กะทิที่จะดูข้น ๆ) คือไม่รู้ว่าภาษาญี่ปุ่นใช้คำไหน เลยถามค่ะ

ตอนแรกก็ไม่แน่ใจว่าต้องอธิบายยังไงนะ เลยบอกไปว่า 色がない
เพื่อนญี่ปุ่นก็ตาแตกเล็กน้อย อะไรนะไม่มีสีหรอ?
ซึ่งเราก็แบบไม่ใช่ ๆ แล้วก็เอิ่ม ลองคิดภาพว่าไม่ได้ใส่น้ำกระทิแล้วเทียบกับใส่ดู

เพื่อนก็ยังงงๆอยู่อีกเล็กน้อย สุดท้ายเราก็เปิดภาพเทียบแทนเพื่อนถึงจะเข้าใจ แงงง
ซึ่งเพื่อนบอกว่าใช้คำว่า 透明
ถึงแม้จะไม่สื่อสารสำเร็จด้วยการใช้คำพูดอย่างเดียว แต่อย่างน้อยเราก็รู้สึกว่าเราได้พยายามที่จะอธิบายเป็นภาษาญี่ปุ่นแล้วค่ะ ฮือ




แล้วก็นะคะ ก่อนหน้านี้เมื่อไม่นานมากเท่าไหร่ น่าจะสักเกือบปี
ก็ออกไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนชาวญี่ปุ่นที่เป็นชาวโอซาก้า เขาก็สอนภาษาคันไซแบบที่วัยรุ่นใช้กันอะไรอย่างนี้มา อย่าง まじ !ที่เป็นคำอุทาน ก็เหลือแค่ ま!แทน ซึ่งพอเพื่อนสอนมาปุ๊บก็ร้อนวิชาใช้เลย
ตอนนั้นในหัวเราก็แปลคำนั้นเป็นคำว่า จริง ก็เลยถามว่าถ้าใช้เป็นแบบว่า まですか?ได้ไหม แต่เพื่อนก็บอกว่า มันใช้เป็นคำอุทานอย่างเดียวนะ ใช้แค่แบบตกใจแล้ว ま! ก็ทำให้เราได้เรียนรู้ดีค่ะ

------------

อีกหนึ่งเหตุการณ์ คือเคยคุยกับเพื่อนญี่ปุ่นแล้วเขาถามว่า ปกติอยู่ที่ไทยนั่งแท็กซี่บ่อยไหม
เราก็อยากจะตอบไปว่า ไม่ค่อย เพราะว่าแท็กซี่ไม่ค่อยรับคนไทยเท่าไหร่ (แง)
แต่ติดตรงที่ เอ้ะ ประโยคที่ว่าไม่ให้ขึ้น นี้พูดยังไงนะ
ก็เลยตะกุกตะกักไป 乗らせて…乗らせない? แต่เพื่อนก็อ้อแล้วก็แก้ให้ทันทีเลยว่า 「乗せてくれない 」ですね นี่ก็รีบบอกไปเลยว่าใช่ ๆ ๆ





นี่ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงความไม่ค่อยรู้ของเรา (ฮือ) โดยมีการใช้ communication strategies ค่ะ
โดยการปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบนี้จะเรียนว่า "การต่อรองทางความหมาย" (意味の交渉) หรือ Negotiation of meaning ซึ่งก็เป็นความพยายามที่จะสื่อความหมายให้คู่สนทนาได้เข้าใจได้ แล้วไม่เกิดความล้มเหลวทางการสื่อสารค่ะ

ทั้งนี้การมีปฏิสัมพันธ์หรือการต่อรองทางความหมายและการใช้กลยุทธ์ทางการสื่อสารจะทำให้ผู้เรียนปรับการใช้ภาษาของตน ส่งผลให้เกิด input ที่เข้าใจได้

นอกจากนี้ การเรียนรู้มักจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับ(feedback)จากเจ้าของภาษาในรูปแบบของ positive evidence และ negative evidence


positive evidence จะหมายถึง ข้อมูลหรือ input ที่ถูกต้องและแสดงว่าในภาษาเป้าหมายนั้นจะใช้รูปภาษาอะไร

ส่วน negative evidence จะหมายถึงข้อมูลที่ชี้ถึงสิ่งที่ไม่ควรใช้ในภาษาเป้าหมายนั้น
เช่น ตอนแนะนำตัวเป็นภาษาญี่ปุ่นของคนไทย ที่มักจะแนะนำชื่อเล่นไปด้วยเพื่อที่จะได้เรียกแทนชื่อจริงที่ยาว โดยการบอกว่า "เรียก อาร์ตก็ได้นะคะ"

ผู้เรียนมักจะแปล "ก็ได้" เป็น ~てもいい ซึ่งเป็นการใช้ที่ผิด กรณีนี้ผู้สอนก็จะให้ negative evidence ว่า ไม่ควรใช้ てもいい ในกรณีนี้ (และอาจจะให้ positive evidence เพิ่มเติมว่าควรใช้เป็น ~てください แทน)

สรุปก็คือ ตรงนี้ผิดนะ (negative) ใช้แบบนี้ดีกว่า (positive)

แต่ทั้งนี้คิดว่าไม่ควรให้ negative evidence มากเกินไปค่ะ เพราะมีความเป็นไปได้สูงที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดท้อในการเรียน




โดยรวม ๆ แล้ว interaction hypothesis ก็ช่วยเติมเต็มเรื่องของการรับและส่ง input ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่าการมีปฏิสัมพันธ์ในทุกครั้งก็ไม่ได้แปลว่าจะพบการต่อรองทางความหมายหรือการใช้กลยุทธ์ทางการสื่อสารอยู่ดี ในบางครั้งแม้จะใช้กลยุทธ์ทางการสื่อสารแล้วก็อาจเกิด communication breakdown ได้เหมือนกัน (เช่น ในกรณีที่เจ้าของภาษาไม่คิดจะทำความเข้าใจกับสิ่งที่เราสื่อออกมา)
เช่นเดียวกัน ถึงแม้ผู้เรียนจะใช้กลยุทธ์การสื่อสาร แต่หากไม่หันกลับไปไตร่ตรองว่าควรพูดอะไร ไม่ควรพูดอะไรก็จะไม่เกิดการเรียนรู้เช่นกัน


สรุปแล้วก็คือ

การพูดคุยกับเจ้าของภาษาหรือมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของภาษา เชื่อว่าทำให้เกิดการต่อรองทางความหมายหรือเกิดการใช้กลยุทธ์การสื่อสารต่าง ๆ ซึ่งส่งให้ผู้เรียนได้ทำการรับและส่ง input ที่เข้าใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้ผู้เรียนมีโอกาสในกรสัมผัส คำ ประโยค หรือการใช้ภาษาที่ตนเองไม่เคยรู้มาก่อนจากการรับ feedback ของเจ้าของภาษาและการปรับภาษาของจน

อย่างไรก็ตามแต่ ถ้าหากผู้เรียนไม่กลับไปไตร่ตรองการใช้ภาษาทั้งของตนและของเจ้าของภาษา การเรียนรู้ก็อาจจะไม่เกิดขึ้นค่ะ



เป็นอย่างไรบ้างคะ กับ interaction hypothesis
นี่ก็เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่เราชอบมากค่ะ
แต่ในบางที เราก็ต้องมีผู้สอนภาษาที่เป็นมิตรกับเราหน่อยนะคะ
ไม่งั้นบางคนก็ไม่ช่วยทำความเข้าใจกับเรา สุดท้ายก็เลย communication breakdown TT
แต่อย่างไรก็ตาม เราคิดว่าการพยายามสื่อสารให้ถึงที่สุดโดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารก็ทำให้เราสามารถจดจำได้ดีนะคะ (อย่างที่ทุกวันนี้เราก็จำได้ว่าแกงใสๆ ต้องใช้ 透明 5555)

ยังไงก็ขอจบบล็อกครั้งนี้เพียงเท่านี้นะคะ
ไว้เจอกันใหม่ บะบาย







ความคิดเห็น

  1. อธิบายโดยยกตัวอย่างประสบการณ์จริงทำให้เห็นภาพชัดเจนเลยค่ะ ดีมาก

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น